"สวัสดีครับก่อนที่จะเข้าสู่รายละเอียดของการเรียนรู้เรามาประลองความรู้หรือทดสอบความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องสมรรถนะครูดิจิทัลกันดูก่อนนะครับ ซึ่งการประลองความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้มี 10 ข้อครับ ถ้าพร้อมแล้วเริ่มกันเลยนะครับ"
1. ข้อใดคือจุดเด่นของการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล
A. ผู้เรียนค้นหาวิธีเรียนรู้และสรุปความรู้ด้วยตนเองผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต
B. ผู้เรียนปฏิบัติตามขั้นตอนการเรียนรู้จากใบงานหรือกิจกรรมที่ครูกำหนด
C. ครูออกแบบกิจกรรมโดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการพัฒนาผู้เรียน
D. ครูจัดกิจกรรมโดยมอบหมายให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าความรู้จากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ ในชุมชนและสังคม
2. ข้อใดกล่าวถึงสมรรถนะดิจิทัลได้ถูกต้องและชัดเจนที่สุด
A. ความสามารถในการใช้บริการพื้นฐานด้านโปรแกรม อินเทอร์เน็ต และเทคโนโลยีดิจิทัลของแต่ละบุคคล
B. ความสามารถในการใช้งานอุปกรณ์ แอปพลิเคชัน และเครื่องมือเทคโนโลยีดิจิทัลของแต่ละบุคคล
C. ความรู้ ความสามารถ ทักษะ และเจตคติที่มีต่อการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลของแต่ละบุคคล
D. ความรู้ ความเข้าใจในการใช้งานอุปกรณ์ และเครื่องมือเทคโนโลยีดิจิทัลของแต่ละบุคคล
3. ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตของบุคลากรภาครัฐจัดเป็นทักษะการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลในขั้นใด
A. ทักษะขั้นพื้นฐาน
B. ทักษะขั้นต้นสำหรับการปฏิบัติงาน
C. ทักษะขั้นประยุกต์สำหรับการปฏิบัติงาน
D. ทักษะขั้นบูรณาการสำหรับการปฏิบัติงาน
4. บุคคลในข้อใดจัดอยู่ในกลุ่มทักษะด้านดิจิทัลขั้นประยุกต์สำหรับการปฏิบัติงาน
A. เจนสามารถใช้โปรแกรมสำหรับจัดพิมพ์เอกสาร
B. จ๊อบสามารถใช้คอมพิวเตอร์สืบค้นงานบนอินเทอร์เน็ต
C. เจี๊ยบสามารถทำงานร่วมกันกับเพื่อนผ่านระบบออนไลน์
D. จอห์นสามารถจัดการไฟล์เอกสารภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างเป็นระบบ
5. ครูต้นสามารถนำเครื่องมือและเทคโนโลยีต่างๆ ด้านดิจิทัลไปออกแบบและจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความสามารถดังกล่าวจัดอยู่ในกรอบสมรรถนะดิจิทัลด้านใด
A. ด้านการเข้าใจดิจิทัล
B. ด้านการใช้งานดิจิทัล
C. ด้านการแก้ปัญหาด้วยเครื่องมือดิจิทัล
D. ด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงดิจิทัล
6. บอยมีความสามารถในการรับมือ ป้องกันและมีภูมิคุ้มกันจากการข่มขู่บนโลกออนไลน์ ลักษณะดังกล่าวถือเป็นทักษะสำคัญด้านใดในการเป็นพลเมืองดิจิทัล
A. ทักษะการรับมือการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์
B. ทักษะการจัดการความเป็นส่วนตัวในโลกออนไลน์
C. ทักษะการรักษาอัตลักษณ์ที่ดีของตนบนโลกออนไลน์
D. ทักษะการรักษาความปลอดภัยของตนเองบนโลกไซเบอร์
7. พฤติกรรมของบุคคลในข้อใดต่อไปนี้สอดคล้องกับการจัดการข้อมูลเกี่ยวกับ Digital Footprint ได้อย่างเหมาะสม
A. กาณฑ์ให้ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยจดจำข้อมูลการลงชื่อเข้าใช้งานในระบบอินเทอร์เน็ตทุกครั้ง
B. กันต์ระมัดระวังเรื่องการแสดงตัวตนบนโลกออนไลน์และลบประวัติการเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตทุกครั้ง
C. กฤตโพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อสังคมออนไลน์ตามอารมณ์และความรู้สึกของตนเองอย่างตรงไปตรงมา
D. ก้องจัดสรรเวลาและควบคุมตนเองในการใช้งานหน้าจอโทรศัพท์มือถือในแต่ละวันไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
8. สมรรถนะดิจิทัลสำหรับคุณวุฒิระดับปริญญาตรีทุกสาขาที่คณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนดด้านใดต่อไปนี้ที่จัดเป็นขั้นเริ่มต้น
A. การติดต่อสื่อสารและการประสานงาน
B. การใช้เครื่องมือและเทคโนโลยี
C. การสร้างสรรค์และนวัตกรรม
D. การสืบค้นและการใช้งาน
9. ครูอบเชยมีทักษะในการปรับตัวให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนและเพื่อนร่วมงานผ่านสภาพแวดล้อมดิจิทัล ลักษณะดังกล่าวของครูอบเชยจัดอยู่ในกรอบสมรรถนะดิจิทัลด้านใด
A. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสื่อและเทคโนโลยีดิจิทัล
B. มีจรรยาบรรณในการใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัล
C. รู้เท่าทันสื่อดิจิทัลและใช้ได้อย่างปลอดภัย
D. การพัฒนาตนและวิชาชีพ
10. บทบาทครูในยุคดิจิทัลข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
A. ครูต้องนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน
B. ครูต้องจัดหาอุปกรณ์เทคโนโลยีดิจิทัลมาให้นักเรียนทุกคนได้ใช้งานอย่างเท่าเทียม
C. ครูต้องพัฒนาตนเองให้มีสมรรถนะการใช้งานดิจิทัลเพื่อให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง
D. ครูต้องยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และปรับเปลี่ยนบทบาทไปเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียน