"สวัสดีครับก่อนที่จะเข้าสู่รายละเอียดของการเรียนรู้เรามาประลองความรู้หรือทดสอบความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการเรียนรู้และรูปแบบการจัดการเรียนรู้กันดูก่อนนะครับ ซึ่งการประลองความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้มี 10 ข้อครับ ถ้าพร้อมแล้วเริ่มกันเลยนะครับ"
1. ข้อใดเกิดจากกระบวนการเรียนรู้
A. การรับสัมผัสของประสาทในร่างกาย
B. การกระพริบตา
C. การขับรถ
D. การร้องไห้
2. ธรรมชาติพื้นฐานประการแรกในการเรียนรู้ของมนุษย์เกิดจากปัจจัยข้อใด
A. เรียนรู้เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์และทักษะชีวิต
B. เรียนรู้เพื่อต้องการที่จะรู้และคลายความสงสัย
C. เรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดและการแก้ปัญหา
D. เรียนรู้เพื่อฝึกฝนทักษะและความชำนาญ
3. สิ่งเร้ามีผลต่อการเรียนรู้ของมนุษย์อย่างไร
A. ช่วยกระตุ้นให้เกิดความสนใจ
B. ช่วยพัฒนาระบบประสาทของร่างกาย
C. สิ่งเร้าไม่มีผลต่อการเรียนรู้ของมนุษย์
D. ช่วยให้เกิดปฏิกิริยาการตอบสนองโดยอัตโนมัติ
4. ความกระตือรือร้นและการเห็นคุณค่าต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นพฤติกรรมที่สอดคล้องกับข้อใด
A. พฤติกรรมด้านจิตพิสัยหรืออารมณ์ ความรู้สึก
B. พฤติกรรมด้านทักษะพิสัยหรือความสามารถทางร่างกาย
C. พฤติกรรมด้านพุทธิพิสัยหรือความรู้และความเข้าใจทางปัญญา
D. พฤติกรรมที่สอดคล้องทั้งด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย
5. กิจกรรมในข้อใดที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความสามารถในการแก้ปัญหาหรือการแก้ไขสถานการณ์ได้ดีที่สุด
A. สาธิตวิธีการให้ผู้เรียนได้ดูเป็นตัวอย่าง
B. อธิบายให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจที่ชัดเจน
C. จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ทดลองฝึกปฏิบัติ
D. ให้ผู้เรียนได้สืบค้นและค้นหาคำตอบด้วยตนเอง
6. การพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ที่ทุกคนจะต้องใช้ความเป็นอิสระและมีวิจารณญาณร่วมกับความรู้สึกรับผิดชอบต่อตนเอง สอดคล้องกับเป้าหมายการเรียนรู้ในข้อใด
A. การเรียนรู้เพื่อให้รู้ (Learning to know)
B. การเรียนรู้เพื่อให้ลงมือทำได้ (Learning to do)
C. การเรียนรู้เพื่อให้เป็นในสิ่งที่ต้องการ (Learning to be)
D. การเรียนรู้เพื่อให้อยู่ร่วมกัน (Learning to live together)
7. รูปแบบพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนที่มีความแตกต่างกัน ครูผู้สอนควรมีแนวทางในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างไร
A. พัฒนาผู้เรียนโดยเน้นการใช้กิจกรรมที่หลากหลาย
B. พัฒนาผู้เรียนโดยเน้นให้ผู้เรียนได้เคลื่อนไหวทางร่างกาย
C. พัฒนาผู้เรียนโดยเน้นการใช้สื่อประเภทรูปภาพหรือภาพเคลื่อนไหว
D. พัฒนาผู้เรียนโดยเน้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์และทำงานร่วมกับผู้อื่น
8. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับลักษณะของระบบการสอน
A. มีหลักการและทฤษฎีเป็นองค์ประกอบ
B. ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเตรียมขั้นตอนในการสอน
C. ให้ผู้สอนกำหนดแนวทางการสอนด้วยตนเองเป็นสำคัญ
D. มีการจัดความสัมพันธ์ขององค์ประกอบที่สามารถนำผู้เรียนไปสู่เป้าหมาย
9. ข้อใดเป็นขั้นตอนระบบการสอนของกลาสเซอร์ (Glasser) ที่พัฒนาเพิ่มเติมจากระบบการสอนของไทเลอร์ (Tyler)
A. การกำหนดวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือสนับสนุน
B. การประเมินความพร้อมของผู้เรียนก่อนสอน
C. การกำหนดบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
D. การจัดแบ่งกลุ่มผู้เรียน
10. ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับระบบการสอนของโรเบิร์ต กาเย่
A. การนำเสนอสิ่งเร้าการเรียนเป็นไปเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพหรือผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
B. ขั้นตอนแรกของกระบวนการสอนคือการทบทวนความรู้เดิม ตัวอย่างเช่น การทำแบบทดสอบก่อนเรียน
C. ผลการเรียนรู้หรือความสามารถของมนุษย์แบ่งได้ 3 ประเภท คือ ทักษะปัญญา ทักษะการเคลื่อนไหว และเจตคติ
D. การให้คำแนะนำการเรียนเป็นขั้นตอนที่ครูอธิบายและยกตัวอย่างประกอบเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจที่ชัดเจน